วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2562

การทำวิจัยง่ายนิดเดียว


ขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย
- กำหนดปัญหาที่จะดำเนินการวิจัย
- กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย
- ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ( ทฤษฎี เอกสาร งานวิจัย )
- กำหนดกรอบแนวคิดและตั้งสมมติฐาน นิยามศัพท์
- กำหนดแบบการวิจัย
- กำหนดประชากรและวิธีการสุ่มตัวอย่าง
- สร้างเครื่องมือและหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ
- การรวมรวมข้อมูล ( แหล่งปฐมภูมิ, แหล่งทุติยภูมิ)
- การวิเคราะห์ข้อมูล
- การนำเสนอผล ( การเสนอรายงานการวิจัย)
- กำหนดปัญหาที่จะดำเนินการวิจัย
เป็นการกำหนดปัญหาของการวิจัย และเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการวิจัยและในการเลือกปัญหาในการวิจัยต้องพิจารณาจากความรู้ ทัศนคติ ความสามารถของผู้วิจัย แหล่งความรู้ที่จะเป็นส่วนเสริมให้งานวิจัยสำเร็จ ประชากรและวิธีการสุ่มตัวอย่างการรวบรวมข้อมูล รวมทั้งเงินทุน เวลาที่จะทำให้งานวิจัยสำเร็จ ซึ่งมีข้อควรพิจารณาในการเลือกปัญหาคือ
-          ต้องเป็นปัญหาที่มีความสำคัญ
-          สามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่มีเหตุผล
-          มีข้อมูลที่เที่ยงตรงและเชื่อถือสนับสนุน
-          เป็นปัญหาที่แสดงถึงการริเริ่ม ซึ่งการกำหนดปัญหาดังกล่าวจะเป็นกรอบในการช่วยชี้แนวทางให้ผู้วิจัยกำหนดวัตถุประสงค์
-          เป็นกรอบในการศึกษาค้นคว้าทฤษฎี งานวิจัย
-          เป็นแนวทางกำหนดตัวแปรและสมมุติฐาน ช่วยกำหนดรูปแบบและวิธีดำเนินการวิจัย

กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย
การกำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัย (Statement of research objectives) เมื่อผู้วิจัยตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งที่จะทำการวิจัยแล้ว ผู้วิจัยต้องกำหนดข้อความที่เป็นปัญหาและวัตถุประสงค์ในการวิจัยให้ชัดเจน การกำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัยเป็นการค้นหาคำตอบที่ต้องการจากงานวิจัย วิธีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่นิยมใช้ที่สุดคือการตั้งสมมติฐานในการวิจัย
ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ( ทฤษฎี เอกสาร งานวิจัย) มีจุดมุ่งหมายเพื่อ
-    มุ่งแสวงหาพื้นฐานทางทฤษฎีและแนวคิดต่างๆ
-    มุ่งแสวงหาสถานภาพทางการวิจัย (อะไร เมื่อไร ที่ไหน ใคร อย่างไร)
-    มุ่งวางแนวทางการวิจัยที่เหมาะสม (กำหนดกรอบแนวคิด สมมติฐานการวิจัย)
โดยจะศึกษาจาก การประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบเอกสาร การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง วรรณคดีที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการ ประมวลเอกสารที่เกี่ยวมีประโยชน์เพื่อ
-          ทำให้ทราบว่าการวิจัยที่ใกล้เคียงกับการวัยของตนนั้นนักวิจัยคนอื่นได้จัดการแก้ปัญหาของเขาอย่างไร
-          ทำให้นักวิจัยได้เรียนรู้การแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งจะเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่ตนอาจประสบต่อไป
-          ทำให้นักวิจัยทราบถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่ไม่เคยทราบมาก่อน
-          ช่วยให้นักวิจัยมองเห็นการวิจัยของตนว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิจัยอื่นๆ อย่างไร
-          ช่วยให้ผู้วิจัยมีความคิดใหม่ๆ และวิธีการใหม่ๆ ในการทำวิจัย
-          ช่วยให้นักวิจัยประเมินความพยายามของตนโดยเปรียบเทียบกับความพยายามของผู้อื่นในเรื่องที่ใกล้เคียงกัน
-          กำหนดกรอบแนวคิดและตั้งสมมติฐาน นิยามศัพท์

กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual framework ) หมายถึง แนวคิดของผู้วิจัยที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปร ตาม ที่ใช้ศึกษาในการวิจัยครั้งนั้น ๆ โดยมีที่มาจากการทบทวนเอกสารวรรณกรรม แนวคิดทฤษฎี ตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาเขียนเป็นแผนภาพเชื่อมโยงเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรที่ศึกษาในงานวิจัย ประโยชน์ของกรอบความคิดในการวิจัย
1. ช่วยชี้ให้เห็นทิศทางของการวิจัยและประเภทของตัวแปรต้นตัวแปรตาม
2. ช่วยชี้ความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม
3. บอกแนวทางในการออกแบบการวิจัย
4. บอกแนวทางการกำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัย
5. บอกแนวทางการเลือกใช้เครื่องมือในการวิจัย
6. บอกแนวทางการเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
7. บอกกรอบการแปรผลและอภิปรายผลการวิจัย

การกำหนดสมมุติฐาน หมายถึง การเขียนข้อความที่เป็นข้อคาดหวังเกี่ยวกับความ แตกต่างที่อาจเป็นไปได้ ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ซึ่งสมมุติฐานนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นจริงเสมอไป
คำนิยามศัพท์ หลักการให้คำนิยามตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยทุกตัวเป็นการให้คำนิยามเชิงปฏิบัติการ ที่ใช้ในการวิจัยเรื่องนั้น ๆ ทั้งนี้เนื่องจากคำศัพท์บางคำมีความหมายได้หลายคำจะให้เฉพาะความหมายที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้เท่านั้น ความหมายที่ให้จะเป็นความหมายเชิงปฏิบัติการ เป็นคำจำกัดความที่ให้ไว้เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกันกับผู้วิจัย การให้ความหมายต้องทำอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ค้านกับแนวคิดทฤษฎี และมีความหมายที่แน่นอนชัดเจน วัดได้เป็นอย่าเดียวกันไม่ว่าใครวัด การให้คำนิยามศัพท์ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ
1. เพื่อให้เกิดความคงที่ของตัวแปรที่ศึกษา ตลอดระยะเวลาของการวิจัย
2. เพื่อนำไปสู่การสร้างเครื่องมือวัดและวิธีการวัดตัวแปรนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

กำหนดแบบการวิจัย
ลักษณะของแบบการวิจัย
แบบการวิจัยที่มีการทดลอง การออกแบบเป็นการกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการทดลองที่จำเป็นดังนี้
-          การกำหนดกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
-          กำหนดตัวแปรในการทดลอง
-          เลือกแบบแผนแบบการทดลอง
-          สร้างเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
-          ดำเนินการทดลองตามแผนแบบ

แบบการวิจัยเชิงสำรวจ
เป็น การวิจัยที่ไม่มีการสร้างสถานการณ์เชื่อมโยงใด ๆ กับข้อมูลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นการค้นหาความจริงตามสภาพการณ์ปัจจุบัน ที่ปรากฏอยู่หรือให้เห็นว่ามีข้อเท็จจริง อย่างไรที่ปรากฏอยู่มีความสัมพันธ์กันอย่างไร โดยไม่มีการจัดกระทำเพื่อควบคุมตัวแปรใด ๆ รูปแบบการวิจัยแบบสำรวจจำแนกได้ดังนี้ การสำรวจเชิงบรรยาย การสำรวจเชิงเปรียบเทียบ การสำรวจเชิงสหสัมพันธ์ การสำรวจเชิงสาเหตุ
การออกแบบการวิจัยในการวิจัยเชิงสำรวจที่สำคัญคือ
-          ออกแบบการเลือกตัวอย่าง
-          ออกแบบการวัดค่าตัวแปร
-          ออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล




แบบการวิจัยเชิงพัฒนา
เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นที่จะนำผลการวิจัยมาเพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพิ่ม
คุณภาพ ประสิทธิภาพ การทำงานปกติในองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ โดยอาศัยยุทธศาสตร์ วิธีการหรือเทคนิคต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะธรรมชาติของงานหรือหน่วยงานนั้น ๆ
แบบการวิจัยเชิงประเมิน ( Evaluation Research )
การวิจัยเชิงประเมินผล ( Evaluation Research ) เป็นรูปแบบการวิจัยชนิดหนึ่ง เหมือนการวิจัยเชิงสำรวจ แต่การวิจัยเชิงประเมินผล เป็นวิธีการวิจัยที่มุ่งหาความรู้+ความจริงมาหาคุณค่า ของสิ่งที่วิจัยนั้นเพื่อให้ผู้บริหารคิดสนใจว่าความยุติโครงการหรือให้ดำเนินการต่อไป ในการวิจัยเชิงประเมินผลนั้น สามารถดำเนินการประเมินได้ใน 3 ระดับ
1. ก่อนการดำเนินงาน
2 . ระหว่างดำเนินงาน
3. สิ้นสุดโครงการ
กระบวนการและขั้นตอนการทำวิจัยเชิงประเมินผล
ขั้นที่ 1 เลือกโครงการและตั้งหัวข้อวิจัย
ขั้นที่ 2 ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
ขั้นที่ 3 กำหนดปัญหา เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการประเมิน
ขั้นที่ 4 ออกแบบวิจัย วางแผนวิจัยประเมิน
ขั้นที่ 5 เก็บรวบรวมข้อมูล
ขั้นที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลและแปรผล
ขั้นที่ 7 การเสนอรายงานวิจัยเชิงประเมินผล
การนำทฤษฎีมากำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยเชิงประเมินผล ในการวิจัยเชิงประเมินโครงการนั้น ทฤษฎีที่นิยม นำมาใช้มากที่สุด คือทฤษฎี CIPP Model ของ Stufflebeanc หรือ CIPPO Model ของ นายธเนศ ต่วนชะเอม
C                 I                  P                 P                 O
C = Contexts บริบท ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม ปัญหาของพื้นที่ ความต้องการและความพร้อมของประชาชน
I = Input คือ โครงการ นั้นคือ เมื่อประเมินบริบทว่ามีความพร้อมและต้องการแล้วจึงนำโครงการสู่ชุมชน แล้วจึงประเมินโครงการนั้นว่ามีความเป็นได้มากน้อยเพียงใด เป้าหมายเป็นอย่างไร
P= Process คือกระบวนการในการดำเนินงานตามโครงการที่กำหนดไว้ นั้นคือ นัก วิจัยเชิงประเมินให้ทำการประเมินในหัวข้อต่อไปนี้ หลักการ/การวางแผน ,กิจกรรมและวิธีการขั้นตอนการดำเนินงาน, การร่วมมือ, วัสดุอุปกรณ์, งบประมาณ
P= Product คือผลผลิต เช่น จำนวนคน, เป้าหมายที่กำหนดไว้, ผลที่ได้รับ, มีนวัตกรรมใหม่ ๆ
O= Outcome คือ ผลลัพธ์ที่ตามมาจากโครงการนั้น เช่น ความสบายใจ, ความคุ้มค่า, การขยายเครือข่าย, ผลประโยชน์ที่ตามมาในภายหลัง ซึ่งอาจมีทั้งผลบวกและผลลบ
กำหนดประชากรและวิธีการสุ่มตัวอย่าง
ประชากร ในการวิจัยหมายถึง จำนวนทั้งหมดของกลุ่มบุคคล สัตว์ สิ่งต่างๆ ที่อยู่ในขอบข่ายการวิจัย โดยบ่างออกเป็น 2 ประเภท
-          ประชากรที่มีจำนวนจำกัด
-          ประชากรที่มีจำนวนไม่จำกัด
ตัวอย่าง หมายถึง ประชากรบางส่วนหรือทั้งหมดที่ใช้เป็นตัวแทนในการศึกษาวิจัย วิธีการเลือกตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 วิธี
1. การเลือกตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น เป็นการเลือกตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ สะดวก ปลอดภัยเช่น
- การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง
- การเลือกตัวอย่างแบบกำหนดโควตา
- การเลือกตัวอย่างตามโอกาส
- การเลือกตัวอย่างตามสะดวก
การที่เลือกตัวอย่างโดยไม่ทราบค่าความน่าจะเป็นนี้ไม่เหมาะสมที่จะใช้การคำนวณค่าสถิติอนุมาน ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพราะไม่ทราบค่า Sampling error จึงเหมาะสมที่จะใช้กับสถิติบรรยายต่าง ๆ
2. การเลือกตัวอย่างแบบทราบค่าความน่าจะเป็นการเลือกโดยการสุ่ม (Random) ที่แต่ละหน่วยของประชากรมีโอกาสได้รับการเลือกตัวอย่างเท่าเทียมกัน การเลือกตัวอย่างแบบนี้แบ่งออกเป็น 5 วิธี คือ
- การเลือกตัวอย่างโดยการสุ่ม เป็นวิธีการที่ง่าย ๆ แต่ประชากรต้องไม่ใหญ่มากนัก
- การเลือกตัวอย่างเป็นระบบ เป็นวิธีใช้ได้ดีในกรณีที่ประชากรมีขนาดใหญ่ที่มีการจัดระบบอย่างใดอย่างหนึ่ง
- การเลือกตัวอย่างแบบการจัดชั้น เป็นวิธีการเลือกตัวอย่างที่มีการจัดขั้นก่อน เพื่อให้ตัวอย่างที่ได้มาจากทุกชั้น
- การเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม เป็นวิธีการเลือกตัวอย่างที่มีการแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่ม เช่นเดียวกับการจัดชั้นแต่ลักษณะจะไม่เหมือนกัน โดยการแบ่งแบบนี้ลักษณะภายในของประชากรแต่ละกลุ่มจะมีความแตกต่างกัน และแต่ละกลุ่มจะมีความคล้ายคลึงกัน แล้วจึงเลือกโดยการสุ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ โดยใช้ทุกหน่วยของกลุ่มย่อยมาเป็นตัวอย่าง

- การเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จะใช้เมื่อประชากรที่ศึกษามีขนาดใหญ่ ประกอบด้วยกลุ่มย่อย ๆ โดยในกลุ่มย่อย ๆ ประกอบด้วยหน่วยต่าง ๆ ที่มีลักษณะตามที่สนใจคล้าย ๆ กัน

สร้างเครื่องมือและหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย
ความเที่ยงตรง (Validity) หมายถึง ความสามารถวัดได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการจะวัด และ วัดได้ครอบคลุมพฤติกรรมลักษณะที่ต้องการการกำหนดความเที่ยงตรงตามเนื้อหา นั้นจะต้องกำหนดนิยามตามทฤษฎีและแปลงเป็นนิยามเชิงปฏิบัติการ เพื่อหาตัวชี้วัด
ความเชื่อมั่น (Reliability) หมายถึง ความคงที่ในการวัดเมื่อวัดซ้ำ ๆ กันหลายครั้งจะให้ค่าเหมือนเดิมหรือใกล้เคียงกันการหาค่าความเชื่อมั่นมีหลายวิธีการดังนี้
1. วิธีการสอบซ้ำ
2. วิธีใช้ฟอร์มคู่ขนาน
3. วิธีหาความสอดคล้องภายใน
3.1 วิธีแบ่งครึ่ง
3.2 วิธีของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน
3.3 วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่า
อำนาจจำแนก (Discrimination) เครื่องมือการวิจัยที่ดีต้องสามารถจำแนกสิ่งต่าง ๆ ออกตามคุณลักษณะที่ต้องได้
ประสิทธิภาพ (Effciency) เครื่องมือการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ หมายถึงมีประสิทธิภาพในการใช้ได้ง่ายสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายการสร้างเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานจึงต้องพิจารณากลุ่มเป้าหมายว่าจะใช้เครื่องมือกับกลุ่มใด ธรรมชาติหรือลักษณะพื้นฐานของกลุ่มเป้าหมายเป็นเช่นไร
การรวมรวมข้อมูล ( แหล่งปฐมภูมิ, แหล่งทุติยภูมิ)
ในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยจะต้องทราบว่าในการทำการวิจัยนั้นสามารถจะรวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม ประชากรทั้งหมด หรือ สุ่มตัวอย่าง ซึ่งในการสุ่มตัวอย่างนั้นก็ต้องทราบว่าจะต้องสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการใดที่จะให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของ กลุ่มประชากร ข้อมูลที่ผู้วิจัยจะทำการรวบรวมนั้นมาจากไหน ปฐมภูมิ (Primary Source)ทุติยภูมิ (Secondary Source)
ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) 
          เป็นข้อมูลสถิติซึ่งเก็บรวบรวมมาก่อนแล้วเพื่อจุดมุ่งหมายอื่นซึ่งอาจจะเอามาใช้ประกอบในงานวิจัยได้ (Churchill. 1996 : 54) หรือหมายถึงข้อมูลที่ได้นัดพิมพ์มาแล้วเพื่อจุดมุ่งหมายอื่นไม่ใช่เพื่อจุดมุ่งหมายในการศึกษาปัจจุบัน (Kinnear and Tailor. 1996 : 856) ข้อมูลทุติยภูมิอาจจะอยู่ในระบบข้อมูลภายในธุรกิจ เช่น รายงานสำรวจการขายจากใบสั่งซื้อของลูกค้า อาจจะต้องอาศัยจากภายนอก เช่น ห้องสมุดธุรกิจ ข้อมูลสถิติของรัฐบาล รายงานจากสมาคมการค้า ฯลฯ
ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data)
เป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมูลเบื้องต้นซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลที่เกิดจากคำถามในการวิจัย (Churchill. 1996 : 55) วิธีการในการวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจะเกี่ยวข้องกับคำถามต่อไปนี้
(1) ควรรวบรวมโดยการสังเกตหรือการออกแบบแบบสอบถาม
(2) ควรจะมีวิธีการสังเกตอย่างไร
(3) การสำรวจด้วยตัวเองหรือใช้เครื่อง อิเล็กทรอนิกส์
(4) คำถามควรจะมีการบริหารโดยบุคคล โทรศัพท์ หรือใช้จดหมาย
การวิเคราะห์ข้อมูลการออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Design) 
          การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of data) เป็นการจำแนกข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อจัดข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นระบบหมวดหมู่ แล้วใช้ค่าสถิติช่วยในการสรุปลักษณะของข้อมูลนั้น ๆ ตามลักษณะของตัวแปรที่ศึกษา ในกรณีที่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ จะ แตกต่างกับการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้การวิเคราะห์โดยการ จำแนกชนิดและการเปรียบเทียบลักษณะของข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกัน ของปรากฏการณ์ต่างๆ โดยอาศัยกรอบแนวคิดและทฤษฎีช่วยในการสร้างข้อสรุปนั้น การเลือกใช้สถิติจะพิจารณาจาก
1. วัตถุประสงค์การวิจัย (เพื่อการบรรยาย, เพื่อเปรียบเทียบ, เพื่อหาความสัมพันธ์, เพื่อสร้างตัวแบบ)
2. หน่วยการวิเคราะห์ (เอกบุคคล, แบบกลุ่ม)
3. ระดับการวัดค่าตัวแปร (ระดับกลุ่ม, ระดับอันดับ, ระดับวง, ระดับอัตราส่วน)
4. การเลือกตัวอย่าง (ใช้การสุ่ม, ไม่มีการสุ่ม)
ดังนั้นเทคนิคการวิเคราะห์และแปลผลขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ดังนี้
1. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้วิธีการทางสถิติเป็นวิธีการในการวิเคราะห์ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
a. สถิติบรรยาย (Descriptive Statistics)การวิจัยที่มุ่งหมายเพื่อการบรรยายข้อมูลตัวอย่างหรือประชากรโดยไม่อ้างอิงไปถึงประชากรใด สามารถเลือกใช้สถิติบรรยายได้ดังนี้
1. การแจกแจงความถี่
2. การจัดตำแหน่งเปรียบเทียบ (Proportion, Rate, Ratio, Percentage)
3. การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (Mean, Median, Mode)
4. การวัดการกระจาย (S.D., Q.D., C.V., Range)
5. การวัดความสัมพันธ์ (rxy , rt , rbis)
6. การวัดการถดถอย
b. สถิติอนุมาน (Inferential Statistics) หรือสถิติวิเคราะห์ซึ่งแยกย่อยออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1. Non-Parametric Statistics
2. Parametric Statistics
          2. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิควิธีการที่เรียกว่า การจำแนกกลุ่มข้อมูลเชิงคุณภาพ
การวางแผนการวิเคราะห์ข้อมูล
          ในขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นผู้วิจัยควรจะมีการวางแผนก่อนโดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของการวิจัยว่า ในแต่ละวัตถุประสงค์ของการวิจัยจะทำการวิเคราะห์อย่างไร ควรจะจัดกระทำข้อมูลอย่างไร และใช้ค่าสถิติใดช่วยในการหาคำตอบตามวัตถุประสงค์นั้น
การนำเสนอผล ( การเสนอรายงานการวิจัย)
     บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
วัตถุประสงค์การวิจัย
ขอบเขตการวิจัย
ข้อตกลงเบื้องต้น
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
     บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กรอบแนวคิด
สมมุติฐานการวิจัย
นิยามศัพท์เฉพาะ
     บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
รูปแบบการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
     บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ( เสนอตามวัตถุประสงค์และสมมุติฐาน)
     บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล ข้อเสนอแนะ
สรุปผลการวิจัย
อภิปรายผล
ข้อเสนอแนะ( ต่อหน่วยงาน เพื่อการวิจัยครั้งต่อไป)






























การสร้างเครื่องมือในการวิจัย รวมทั้งข้อดี และข้อเสีย ของเครื่องมือต่างๆ ดังนี้
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) : แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบทดสอบ มาตรวัด แบบบันทึก แบบรายการประเด็นที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แบบสอบถาม (questionnaire): ข้อเท็จจริง ความรู้สึกความคิดเห็น
-mailed questionnaire
- internet questionnaire
ข้อดี ประหยัดเวลาและงบประมาณ ผู้ตอบมีอิสระในการตอบ
ข้อจำกัด ผู้ตอบไม่ให้ความร่วมมือ ไม่จริงใจในการตอบ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
2. แบบสัมภาษณ์ (interviews)
- structured/unstructured interviews
- group/individual interviews
- In-depth or intensive interviews
ข้อดี ใช้ได้กับทุกคน อธิบายคาถาม สอบถามรายละเอียดเจาะลึก
ข้อจำกัด เสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง คุณภาพข้อมูลขึ้นกับความสามารถของผู้สัมภาษณ์
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. แบบสังเกต (observation)
- เหมาะกับข้อมูลที่เป็นสิ่งมีชีวิต คน/สัตว์/ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
- known/unknown observation
- participant/non-participant observation
- direct/indirect observation
ข้อดี ข้อมูลปฐมภูมิ มีรายละเอียดครบ ไม่มีปัญหาเรื่องปกปิดข้อมูล
ข้อจำกัด เสียเวลา/ค่าใช้จ่ายมาก ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวสูงของนักวิจัย การตรวจสอบความตรงของข้อมูลทาได้ยาก
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4. แบบสอบ (tests)
- เหมาะกับการวัดคุณลักษณะแฝง เช่น ความถนัด เชาวน์ปัญญา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
-individual/group tests
-oral/written tests
ข้อดี สามารถวัดคุณลักษณะแฝงได้ วัดได้อย่างมีคุณภาพ
ข้อจำกัด วิธีสร้างค่อนข้างยุ่งยาก ผู้สร้างต้องมีความรู้
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
5. แบบวัดหรือมาตรวัด (scales)
- เหมาะกับการวัดคุณลักษณะทางจิตวิทยา เช่น เจตคติ บุคลิกภาพ ความสนใจ ความเชื่อ ค่านิยม เป็นต้น
ข้อดี การเก็บข้อมูลไม่เข้มงวดเหมือนแบบสอบ สร้างง่ายกว่าข้อสอบ
ข้อจำกัด ต้องรู้ทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับมาตรวัดที่จะสร้าง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
6. แบบบันทึกข้อมูลจากเอกสาร/หลักฐาน
- ใช้ในการวิจัยประวัติศาสตร์ การวิจัยเอกสาร
- เหมาะกับข้อมูลที่มีการบันทึกไว้เป็นเอกสาร / มีหลักฐาน
ข้อดี ไม่มีปัญหาเรื่องความร่วมมือ เสียค่าใช้จ่ายน้อย
ข้อจากัด ต้องใช้ความสามารถในการหาความหมายข้อเท็จจริงที่แฝงในเอกสาร ข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน ข้อมูลขาดความตรง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
7. แบบรายการประเด็นการสนทนากลุ่ม (focus group discussion)
- ใช้ในการวิจัยสังคมศาสตร์และทางธุรกิจ
- เหมาะในการหาข้อสรุปความคิดเห็นของผู้รู้
ข้อดี ประหยัดเวลาและงบประมาณ
ข้อจากัด ทาได้บางเรื่อง บางเรื่องซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของ สังคมอาจจะไม่ได้รับการเปิดเผย
รูปแบบคาถาม(types of question)
1. บังคับเลือก
1.1 Dichotomous question (ใช่/ไม่ใช่ หญิง/ชาย มี/ไม่มีประสบการณ์)
1.2 Measurement scale
- nominal (อาชีพ ภูมิลาเนา สาขา ฯลฯ)
- ordinal (เรียงอาชีพที่อยากทามากที่สุดจนถึงน้อยที่สุดฯลฯ)
- interval (rating scale Guttmanscale)
2. ปลายเปิด

เทคนิคการเลือกเครื่องมือในการวิจัยตัวแปรหรือคุณลักษณะที่ต้องการวัด
- cognitive domain: ความรู้ ความสามารถทางสติปัญญา: แบบสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต
- affective domain: ความรู้สึก ความคิดเห็น: แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต
- psychomotor domain: ทักษะ ความสามารถในการปฏิบัติ: แบบสังเกต แบบสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน
ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย: จานวน ระดับการศึกษา ช่วงอายุ ทรัพยากร: กาลังคน งบประมาณ ระยะเวลา
ลักษณะของเครื่องมือวิจัยที่ดี
1.คาถามสั้น กระชับ ง่ายและได้ใจความ
2.หนึ่งข้อคาถามควรถามประเด็นเดียว
3.คาถามต้องยั่วยุให้อยากตอบ
4.ต้องไม่เป็นคาถามนาหรือชี้แนะคาตอบ
5.มีความเป็นปรนัยสูง
6.คาถามต้องคานึงถึงวัย ระดับการศึกษา ความสามารถ ประสบการณ์ของผู้ตอบ
7.มีการเรียงลาดับข้อคาถามให้เหมาะสม
8.เครื่องมือต้องไม่ยาวเกินไป
9.มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คาชี้แจง วิธีในการตอบและมีตัวอย่างการตอบ
10.มีการทดลองใช้ ปรับปรุงข้อบกพร่อง
11.มีการหาคุณภาพของแบบสอบถามด้านความเที่ยงและความตรง
เทคนิคการสร้างเครื่องมือในการวิจัย
1.การตอบคาถามวิจัย ต้องใช้สถิติตัวใด
2.เครื่องมือที่จะสร้าง
- มีเครื่องมืออยู่แล้ว
- ปรับปรุงจากเครื่องมือที่มีอยู่แล้ว
- รวบรวมมาจากหลายแหล่ง
- สร้างใหม่
3. การควบคุมการเดา
4. ตัวแปรไม่ชัด ต้องใช้ qualitative นำ
การสร้างเครื่องมือในการวิจัย
1.กำหนดขอบเขตและจุดมุ่งหมายของการสร้าง: วัดอะไร วัดใคร ลักษณะของผู้ถูกวัดเป็นอย่างไร
2.ระบุเนื้อหา/ตัวแปรที่ต้องการวัด
3.ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ต้องการจะวัด
4.นิยามปฏิบัติการ (operational definition) ตัวแปรที่ต้องการวัด
5.ในกรณีที่ไม่สามารถนิยามตัวแปรให้ชัดเจน ให้เก็บข้อมูลภาคสนาม เพื่อนามาสร้างข้อคาถาม เช่น การรักความเป็นไทย
6.สร้างตารางโครงสร้างเนื้อหา แจกแจงเนื้อหาที่จะวัดตามนิยามปฏิบัติการของตัวแปรที่จะวัด
7.เลือกชนิดและรูปแบบคาถาม: เติมคาตอบ เลือกตอบ rating scale (สถิติที่ใช้ในการวิจัย)
8. สร้างข้อคาถาม ให้ครอบคลุมเนื้อหาตามตารางโครงสร้างการนิยามตัวแปร (Definition of Variable)
การนิยามเชิงทฤษฎี เป็นการอธิบายความหมายของตัวแปรตาม หลักการหรือทฤษฎีมีลักษณะที่คลุมเครือ กว้าง ไม่ชัดเจน แต่ละคนอาจเข้าใจไม่ตรงกัน(subjective)ซึ่งอยู่ในรูปนามธรรม ไม่สามารถที่จะวัดได้ชัดเจน หรือสื่อความหมายได้ตรงกันได้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึงความรู้ความสามารถที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนการสอนในชั้นเรียน ความสุขในครอบครัว หมายถึง การอยู่ร่วมกันอย่างสงบ ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เป็นต้น
การนิยามตัวแปร (definition of variable) การนิยามเชิงปฏิบัติการ เป็นการอธิบายความหมายของตัวแปรในรูปของพฤติกรรม(behavior) หรือการกระทา (action)ที่สามารถสังเกตหรือวัดได้ ทุกคนสามารถสังเกต รับรู้ และเข้าใจได้ตรงกัน (objective) เช่น
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่ได้จากการวัดด้วยแบบสอบมาตรฐาน หรือ GPAX หรือคะแนนที่ได้จากแบบสอบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เป็นต้น
ความสุขในครอบครัว หมายถึง คะแนนที่ได้จากแบบวัดความสุขในครอบครัวที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการให้อภัยซึ่งกันและกัน ด้านการให้เกียรติซึ่งกันและกันด้านการมีเวลาให้แก่กัน และด้านความรับผิดชอบร่วมกัน
ตัวอย่างการนิยามตัวแปร
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน หมายถึง พฤติกรรมของผู้เรียน ที่โรงเรียน ผู้ปกครองและสังคมต้องการให้มีในตัวผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วยความซื่อสัตย์ ความมีระเบียบวินัย และความรับผิดชอบ ซึ่งวัดจาก แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
ความซื่อสัตย์ หมายถึง การที่ผู้เรียนไม่พูดปด ไม่ลักขโมยของผู้อื่นเวลาทาผิดแล้วยอมรับผิด มีการปฏิบัติตามสัญญาความมีระเบียบวินัย หมายถึง การที่ผู้เรียนมีความตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียน ปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียนและสังคมความรับผิดชอบ หมายถึง ความตั้งใจเรียน เอาใจใส่ในงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่เอาเปรียบผู้อื่น